วัณโรคปอด (Tuberculosis)

ใบความรู้วัณโรค 01 01
           เชื้อวัณโรคติดต่อโดยการแพร่กระจายผ่ายระบบทางเดินหายใจ การพูดคุย ไอ จาม โดยไม่ปิดปาก และเชื้อจะลอยไปในอากาศ ผู้ที่หายใจเอาเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีโอกาศติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคได้ แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อ อาจไม่ป่วยเป็นวัณโรคทุกคน เพราะร่างกายมีกลไกหลายอย่างที่จะต่อสู้และป้องกันเชื้อวัณโรค มีเพียงร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อวัณโรคเท่านั้นที่จะป่วยเป็นวัณโรค

 

อาการสำคัญ
  1. ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
  2. ไอแห้งๆ หรือมีเสมหะ หรือมีเสมหะปนเลือด
  3. เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
  4. มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือค่ำ
  5. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
  6. เหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน

 

ปัจจัยสำคัญต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอด
  1. อยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคที่ยังไม่รับการรักษา เช่น พักอาศัยบ้านเดียวกันหรือทำงานร่วมกัน
  2. ผู้ติดเชื้อ HIV
  3. ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับหรือโรคไต เป็นต้น
  4. ผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์
  5. การจัดลักษณะที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา หรือพักอาศัยหรือทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  6. การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และสารเสพสารเสพติด
  7. ทำงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรค

 

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นวัณโรคปอด
  1. การตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์
  2. เป็นวิธีที่สามารถบอกได้แน่นอนว่าผู้ป่วยเป็นวัณโรคปอด เพราะสามารถมองเห็นเชื้อในเสมหะได้
  3. การเอกซเรย์
  4. การเอกซเรย์ปอดเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่าป่วยเป็นวัณโรคปอด ต้องได้รับการตรวจเสมหะร่วมด้วย
  5. การเพาะเชื้อวัณโรคในรายที่สงสัยว่าเป็นวัณโรค แต่ตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ

 

การป้องกัน
  1. ควรตรวจเช็คร่างกาย โดยการเอ็กซเรย์ปอด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. นำเด็กแรกเกิดรับวัคซีนบีซีจีที่โรงพยาบาลทุกแห่งหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
  3. หากมีอาการสงสัยป่วยเป็นวัณโรค ควรรีบตรวจร่างกาย
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและกินอาหารที่มีประโยชน์
  5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้ง่ายขึ้น
  6. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
  7. เด็กเล็กและคนชราไม่ควรคลุกคลีกับผู้ป่วยวัณโรค
  8. ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้าน ควรเอาใจใส่ดูแล ให้กินยาอย่างสม่ำเสมอจนครบตามมาตรฐานการรักษา
 
แหล่งข้อมูลโดย : กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

แชร์