โรคลมแดด (Heat Stroke)

Heat StrokeTH
        โรคลมแดด หรือ Heat Stroke เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้มีอาการผิดปกติ ปวดศีรษะ หน้ามืด กระสับกระส่าย ซึม สับสน ชัก ไม่รู้สึกตัว ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง เป็นต้น
        สัญญาณสำคัญของโรคลมแดดสัญญาณสำคัญของโรคลมแดดคือ ไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อน ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่วๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคลมแดดในช่วงหน้าร้อน
  1. ผู้สูงอายุ
  2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  3. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  4.  ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  5.  ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น
  6. ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  7. ผู้ที่ทำงานหรือกิจกรรมกลางแดด เช่น นักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก โดยไม่มีการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  1. เมื่อเจอผู้ประสบเหตุเป็นลมกลางแดด ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการนำตัวเข้ามาในที่ร่ม จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  2. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัวและศรีษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด (ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัว เพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย)
  3. หากยังไม่ฟื้น ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ติดต่อสายด่วนขอความช่วยเหลือ 1669

วิธีการป้องกันโรคลมแดด
        หากเริ่มรู้สึกร้อนมากๆ เนื่องจากทำกิจกรรมหรือทำงานกลางแจ้งนานๆ ให้เลี่ยงออกจากพื้นที่ โดยต้องพักจากกิจกรรมนั้น เพื่อทำให้ร่างกายเย็นลง ด้วยการเปิดพัดลม ดื่มน้ำเย็น ใช้ผ้าเย็นเช็ดหน้า เช็ดตัว เพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ที่สำคัญควรจิบน้ำบ่อยๆ แม้ไม่รู้สึกกระหายก็ตาม
        นอกจากนี้ ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา และสามารถระบายความร้อนได้ดี ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ควรจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดี
 
แหล่งข้อมูลโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกรมความคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

แชร์