การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดสำคัญอย่างไร

ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดสำคัญอย่างไร

“เลือด” เป็นของเหลว ประกอบด้วยเม็ดเลือดซึ่งลอยอยู่ในน้ำเหลืองหรือพลาสมา เลือดมีสีแดงเพราะมีปริมาณเม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก เลือดไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายทำหน้าที่ตัวกลางติดต่อระหว่างเซลล์ของร่างกาย ขนส่งออกซิเจนและอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซค์ไปขับออกทางปอด และนำของเสียต่างๆเพื่อขับออกทางไต นอกจากนี้เลือดยังเป็นระบบป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) เป็นการตรวจปริมาณและลักษณะของเม็ดเลือดทั้งสามชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยเป็นการตรวจพื้นฐานทั้งเพื่อการตรวจร่างกายประจำปี และการตรวจเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย

28778

1.เม็ดเลือดแดง

เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างคลายโดนัท เนื่องจากตรงกลางมีรอยบุ๋มแต่ไม่ทะลุตรงกลาง ภายในเม็ดเลือดแดงมีสารชื่อฮีโมโกลบิล ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซค์จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปขับออกที่ปอด

การตรวจเม็ดเลือดแดง เป็น 4 ส่วน ได้แก่

1.1 ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb) เป็นการตรวจความเข้มข้นของระดับฮีโมโกลบินในเลือด เนื่องจากสารฮีโมโกลบินอยู่ในเม็ดเลือดแดง ทำให้ระดับฮีโมโกลบินสัมพันธ์กันโดยตรงกับปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดและปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) เพศชายจะมีระดับฮีโมโกลบินสูงกว่าเพศหญิง

– ระดับฮีโมโกลบินที่ลดลงแสดงถึงภาวะโลหิตจาง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเสียเลือด การขาดสารอาหารโดยเฉพาะธาตุเหล็กหรือวิตามินบี 12 และโฟเลท โรคเลือดทางพันธุกรรมเช่น ธัลลัสซีเมีย รวมถึงโรคของไขกระดูกทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้ลดลง ดังนั้น หากพบระดับฮีโมโกลบินที่ลดลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และให้การรักษาอย่างเหมาะสม

– ส่วนระดับฮีโมโกลบินสูง พบได้ในภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย หรือโรคเลือดข้นจากการขาดออกซิเจนเรื้อรังหรือไขกระดูกทำงานผิดปกติ

1.2 ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit: Hct) เป็นการตรวจปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือด ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดและระดับฮีโมโกลบิน สาเหตุที่ทำให้ระดับต่ำหรือสูงขึ้น มีสาเหตุเช่นเดียวกับปริมาณฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ

1.3 ปริมาณเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell: RBC) เป็นปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือด เป็นค่าที่ตรวจนับได้โดยตรงจากเครื่องตรวจเลือดอัตโนมัติ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับฮีโมโกลบินและปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น สาเหตุที่ทำให้ระดับต่ำหรือสูงขึ้น มีสาเหตุเช่นเดียวกับปริมาณฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ

1.4 ดัชนีเม็ดเลือดแดง เป็นการตรวจขนาดและปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ได้แก่

– ปริมาตรของเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Volume: MCV) เป็นปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรลดลง ได้แก่ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจางธัลลัสซีเมีย ส่วนสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรสูงขึ้น ได้แก่ ภาวะขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลท

– ปริมาณฮีโมโกลิบินในเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Hemoglobin: MCH) เป็นปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดง ทำให้ค่าที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมีสาเหตุเช่นเดียวกัน

– ความเข้นข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration: MCHC) เป็นความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ค่าที่ต่ำลงสัมพันธ์กับระดับฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือดแดงที่ต่ำลง จึงมีสาเหตุเช่นเดียวกัน ส่วนค่าที่สูงขึ้นพบได้เมื่อปริมาตรของเม็ดเลือดแดง เช่น ภาวะที่เม็ดเลือดแดงเสียรูปโดนัทกลายเป็นลักษณะกลมแทน เช่น ภาวะโลหิตาจางจากภูมิต้านทานตนเอง เป็นต้น

Picture1

2.เม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติประมาณ 4,000 – 10,000 เซลล์ต่อ 1 ไมโครลิตร จำนวนเม็ดเลือดขาวมีการเปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับภาวะการอักเสบติดเชื้อของร่างกาย ถูกสร้างจากไขกระดูก มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะใช้วิธีจับกินเชื้อโรคโดยตรง หรือผลิตภูมิต้านทานซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม

– ปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำลง โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิลด์ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำที่พบบ่อย ได้แก่ ยา สารเคมี รังสี ไวรัส และโรคของไขกระดูก เช่น ไขกระดูกทำงานผิดปกติ หรือไขกระดูกติดเชื้อหรือถูกแทรกซึมจากมะเร็ง เป็นต้น

– ปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น พบได้บ่อย ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อภาวะอักเสบหรือติดเชื้อในร่างกาย นอกจากนี้ปริมาณที่เพิ่มขึ้นอาจพบได้ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งพบได้ทั้งเมื่อเม็ดเลือดขาวมีระดับต่ำจนถึงสูงมากผิดปกติ

เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีลักษณะและคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นผลต่อการตอบสนองของร่างกายต่อปัจจัยการกระตุ้นที่แตกต่างกัน

Neutrophil
2.1 นิวโตรฟิล (Neutrophil)

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณมากที่สุด พบได้ประมาณ 40–80 % ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด มีหน้าทีตอบสนองต่อภาวะการอักเสบและติดเชื้อเฉียบพลัยนโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งร่างกายสามารถตอบสนองโดยการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและจับกินเชื้อโรคโดยตรง นอกจากนี้นิวโทรฟิลด์ยังหลั่งสารตอบสนองต่อการอักเสบหรือติดเชื้อทำให้ร่างกายมีไข้ในภาวะดังกล่าว

lymphocyte

2.2 ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte)

เป็นเม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานต่อทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย มีปริมาณสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อไวรัส และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด

monocyte

2.3 โมโนไซท์ (Monocyte)

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพในการจับกินเชื้อโรคได้สูงกว่านิวโทรฟิลด์ มักมีปริมาณเพิ่มขึ้นตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อไวรัส วัณโรค หรือเชื้อรา รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบางชนิด

Eosinophil

2.4 อิโอซิโนฟิลด์ (Eosinophil)

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยในกระแสเลือด ทำให้ที่ในการตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ปริมาณสูงขึ้นพบได้ในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหอบหือด แพ้ยา หรือมีพยาธิในร่างกาย

Basophil

2.5 เบโซฟิลด์ (Basophil)

เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีปริมาณน้อยมากในเลือดทำหน้าที่สร้างสารป้องกันมิให้เลือดแข็งตัว และรวมทั้งหลั่งสารที่ช่วยในการขยายของหลอดเลือด

platelet

3. เกล็ดเลือด (Platelet)

เกล็ดเลือดเป็นส่วนของเม็ดเลือด จึงมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือด ช่วยในการหยุดไหลของเลือดหากมีเกิดบาดแผล มีจำนวนประมาณ 100,000 ถึง 400,000 ตัวต่อเลือด 1 ไมโครลิตร เกล็ดเลือดถูกสร้างจากเซลล์ในไขกระดูก หากมีปริมาณลดลง โดยเฉพาะระดับที่ลดลงมากกว่า 50,000 จะทำให้เลือดออกมากและนานกว่าเลือดจะหยุดหากเกิดบาดแผล โดยเฉพาะหากระดับเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 จะทำให้เลือดออกเองโดยไม่ต้องมีบาดแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเยื่อบุต่างๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล หรือเลือดออกในอวัยวะสำคัญ ได้แก่ ทางเดินอาหาร หรือสมองได้

– เกล็ดเลือดต่ำ สามารถเกิดได้จาก ยา สารเคมี รังสี ภูมิต้านทานตนเองทำลายเกล็ดเลือด ไวรัส และม้ามที่โตผิดปกติ นอกจากนี้ยังพบได้ในโรคของไขกระดูกทำให้ผิดเกล็ดเลือดได้ลดลง เช่น ไขกระดูกทำงานผิดปกติหรือไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งแทรกซึมในไขกระดูก เป็นต้น

– ภาวะเกล็ดเลือดสูง พบได้ในภาวะที่มีปัจจัยการกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดให้มากขึ้น ได้แก่ การอักเสบหรือติดเชื้อเรื้อรัง การมีมะเร็งในร่างกาย การเสียเลือดหรือเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน หากภาวะเกล็ดเลือดสูงเองโดยไม่มีปัจจัยใดมากระตุ้น มักเกิดจากโรคของไขกระดูกที่ทำให้มีการเกล็ดเลือดสูงขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: [email protected]
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital

 

อ้างอิง : สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย