นโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการตรวจและรักษาโรค

(Patient Privacy Notice)

ศูนย์วิจัยทางการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ไทย โรงพยาบาลซีเมดลีฟวิ่งแคร์

ศูนย์วิจัยทางการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ไทย โรงพยาบาลซีเมดลีฟวิ่งแคร์ หรือ บริษัท ศูนย์วิจัยทางการแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ไทย จำกัด มุ่งมั่นที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้เข้ารับบริการตรวจ รักษาโรค และบริการทางการแพทย์ รวมถึงบริการต่างๆ จากบริษัทฯ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทฯ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแจ้งเอกสารฉบับนี้ให้ท่านทราบถึงเหตุผลและวิธีการที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงแจ้งให้ท่านทราบสิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

วัตถุประสงค์

บริษัทฯ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านภายใต้ขอบเขตที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และประมวลผลข้อมูลเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการดังกล่าว โดยบริษัทฯ ได้สรุปการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน พร้อมทั้งอธิบายฐานการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมาย (Lawful Basis of Processing) ดังนี้
ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวมจากท่าน
ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม สามารถจำแนกเป็นประเภทดังต่อไปนี้

114948

นิยาม

“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

“ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
“ข้อมูลการรักษาพยาบาล” หมายถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้
– วันเดือนปีที่เข้ารับการรักษา
– ประวัติแพ้ยาและประวัติผลข้างเคียงจากยา
– ประวัติแพ้อาหาร
– ชื่อโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ชื่อหัตถการ และชื่อการผ่าตัด
– ผลเลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และรายงานผลการ ทางรังสีวิทยา
– รายการยาที่แพทย์ได้สั่ง
– ข้อมูลอื่น เช่น อาการ คำแนะนำของแพทย์ และรายละเอียดการวินิจฉัยโรค เป็นต้น
“ประมวลผล” หมายถึง เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย

“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอํานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

“กลุ่มบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ” หมายถึง บริษัทที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะจดทะเบียนในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ด้วย

“สถานพยาบาลในเครือข่าย” หมายถึง สถานพยาบาลในกลุ่มหรือในเครือข่ายของบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ทั้งที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและในต่างประเทศ

ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวมจากท่าน
ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม สามารถจำแนกเป็นประเภทดังต่อไปนี้

ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

รายละเอียด

1. ข้อมูลระบุตัวตน (Personal data)

เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ID รูปถ่ายใบหน้า เพศ วันเดือนปีเกิด หนังสือเดินทาง หรือหมายเลขที่ระบุตัวตนอื่น ๆ

2. ข้อมูลสำหรับการติดต่อ (Contact data)

เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล

3. ข้อมูลการเงิน (Financial data)

เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต ข้อมูลใบเสร็จ ข้อมูลใบราคา

4. ข้อมูลการสมัครข่าวสารและการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Data)

เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด

5. ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ (Technical data)

เช่น หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ชนิดของบราวเซอร์ ข้อมูล Cookies การตั้งค่าเรื่องเขตเวลา (time zone) ระบบปฏิบัติการ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ และ Online Appointment System

6. ข้อมูลด้านสุขภาพ (Health data)

เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาล รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ ผลการทดสอบจากห้องทดลอง การวินิจฉัย ชื่อโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและแพ้ยา ประวัติแพ้อาหาร ผลเลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยารายการยาที่แพทย์ได้สั่ง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์ ข้อมูล Feedback และผลการรักษา

แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้โดยตรงจากท่าน ได้แก่
กรณีที่ท่านเป็นผู้เข้ารับบริการตรวจและรักษาโรค: บริษัทฯ ได้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการที่ท่านติดต่อสอบถามกับบริษัทฯ เรื่องการบริการ หรือท่านได้ลงทะเบียนเข้ารับบริการทางการแพทย์ และบริการต่างๆ จากบริษัทฯ ด้วยตนเองที่บริษัทฯ รวมทั้งการลงทะเบียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยทางอ้อม ได้แก่
บุคคลที่มีความใกล้ชิดกับท่าน เช่น ญาติ คู่สมรส เป็นต้น
บุคคลที่ท่านมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนตัวท่านในการติดต่อกับโรงพยาบาล
สถานพยาบาลในเครือข่ายในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับสถานพยาบาลในเครือข่ายไว้ว่าให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้
บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษาหรือใช้บริการกับบริษัทฯ หรือเป็นผู้ชำระค่าบริการให้กับท่าน

การเปิดเผยหรือแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บุคคลภายนอก ยกเว้นเป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตเพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้บริษัทฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้

เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานผู้มีอำนาจหรือบุคคลใดๆ เมื่อมีกฎหมายกำหนดหรือให้อำนาจ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่บริษัทฯ จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือเพื่อผลประโยชน์ของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ต้องรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อนี้ได้แก่
สถานพยาบาลในเครือข่าย และกลุ่มบริษัทอาชีวเวชศาสตร์ไทย เท่าที่จำเป็นในการให้บริการการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์กับท่าน โดยบริษัทฯ จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะส่วนที่จำเป็นเท่านั้น และบริษัทฯ จะรักษาความลับให้กับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามหน้าที่ที่บริษัทฯ มีภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
บริษัทประกันภัย หรือผู้ให้บริการบริหารจัดการสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยนั้น
สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อผู้ป่วย
ผู้ส่งท่านมาตรวจรักษาหรือใช้บริการกับสถานพยาบาล หรือชำระเงินค่าบริการแทนท่าน
ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบริษัทฯ เช่น ผู้รับจ้าง หรือผู้ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การจัดทำข้อมูล การโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ การชำระเงิน หรือการให้บริการด้านเทคโนโลยี (Technology Outsource)
บริษัทฯ อาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) โดยใช้บริการจากบุคคลที่สามไม่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญากับบุคคลดังกล่าวด้วยความระมัดระวังและพิจารณาถึงระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ให้บริการระบบ Cloud Computing นั้นให้กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ ใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ ฉบับแก้ไขล่าสุด โดยบริษัทฯ จะเก็บเวชระเบียนข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ของท่านไว้ในระบบของสถานพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับแต่วันที่บริษัทได้จัดทำ แต่เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลจะเก็บไว้จนกว่าท่านไม่ได้ติดต่อทางบริษัทเกินกว่า 10 ปีนับจากวันที่มารับการรับการรักษาพยาบาลครั้งสุดท้าย เมื่อครบกำหนด 10 ปีดังกล่าวแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง สำเนา และเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับของสภาวิชาชีพอื่น ๆ ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเพื่อเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทใดๆ บริษัทฯ อาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความตามกฎหมายหรือข้อบังคับดังกล่าวกำหนด หรือจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะถึงที่สุดแล้วแต่กรณี

มาตรการในการเก็บรักษาและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะจัดการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรการไม่น้อยกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด และด้วยระบบที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เช่น ใช้โปรโตคอลดความปลอดภัย (Secure Sockets Layer: SSL) ปกป้องด้วยไฟร์วอลล์ รหัสผ่าน และมาตรการทางเทคนิคอื่นๆ สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต และจัดเก็บในสถานที่ที่มีระบบป้องกันการเข้าถึงที่จำกัดบุคคลที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร
บริษัทฯ จำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะเข้าถึงได้โดยพนักงาน ตัวแทน คู่ค้า หรือบุคคลภายนอก การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกจะสามารถทำได้ตามเท่าที่กำหนดไว้หรือตามคำสั่ง ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องมีหน้าที่ในการรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จัดให้มีวิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต
บริษัทฯ มีระบบตรวจสอบเพื่อจัดการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการของบริษัทฯ
ในกรณีที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวบริษัทฯ จะจัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการเข้าถึงและควบคุมการใช้งาน มีระบบการใช้งานและระบบสำรองพร้อมทั้งแผนสำหรับกรณีฉุกเฉิน และมีการตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของระบบอย่างสม่ำเสมอ

การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

ในบางกรณี บริษัทฯ อาจมีความจำเป็นต้องโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศ บริษัทฯ อาจดำเนินการดังกล่าวได้หลังจากที่ได้แจ้งกับท่านถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการดังกล่าว และได้รับการยินยอมจากท่านแล้ว โดยบริษัทฯ จะแจ้งให้ท่านทราบถึงมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจไม่เพียงพอของประเทศปลายทาง
บริษัทฯ สามารถโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากท่านในกรณีที่การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศนั้นเป็นไปเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อเป็นการป้องกัน หรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญานั้น หรือเป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562