ไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg Virus Disease)

MARSVIRUSTH
        เกิดจากการติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กที่อยู่ในตระกูล Filoviridae เช่นเดียวกับไวรัสอีโบลา พบการระบาดในทวีปแอฟริกา มีรายงานหลายประเทศ ได้แก่ Uganda, Zimbabwe, Congo, Kenya, Angola และ South Africa สัตว์รังโรคในพื้นที่ได้แก่ ค้างคาวกินผลไม้และลิง ที่อาจเป็นพาหะของการถ่ายทอดเชื้อมาสู่คน ล่าสุดพบรายงานการระบาดในประเทศ Equatorial Guinea ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 
         ประเทศไทยกำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กเป็น 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของเชื้อกลุ่มที่ 4 (Risk Group 4)
ใบความรู้ไวรัสมาร์บวร์ก 2 01
อาการของโรค
 มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2-21 วัน อัตราการเสียชีวิต 24-88% มีอาการเริ่มต้น ได้แก่
  • มีไข้สูง อ่อนเพลีย หนาวสั่น
  • ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ
 อาการรุนแรง (พบวันที่ 5-10)
  • ผิวหนังมีผื่นขึ้นบริเวณคอ หลังและหน้าท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย
  • ภาวะเลือดออกตามร่างกาย
  • อวัยวะภายในล้มเหลว

 

การติดต่อของโรค
การแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน
  • อุจจาระค้างคาว
  • สัมผัสสารคัดหลั่ง
 
การแพร่เชื้อจากคนสู่คน
  • การสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งและเนื้อเยื่อจากอวัยวะของผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิต
  • การสัมผัสสิ่งของที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่ง
  • เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา จมูก ปากและแผลที่ผิวหนัง

 

การวินิจฉัยโรค

  • ตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส โดยวิธี RT-PCR
  • การตรวจหาแอนติเจนโดยวิธี ELISA ในตัวอย่างเลือด นํ้าเหลือง หรือจากอวัยวะ

 

การรักษา
ไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ
 
มาตรการป้องกันโรค
ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับทั้งไวรัสอีโบลาหรือมาร์บวร์ก ควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลังการเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิ
แหล่งข้อมูลโดย
  • ฝ่ายปฏิบัติการด้านเชื้ออันตรายสูงและภูมิคุ้มกันวิทยา  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข 
  • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

แชร์