เข่าเสื่อมจริงไหม? ลองมาดูอาการกันและควรรักษาอย่างไรดี

Knee

ปัจจุบันโรคเข่าเสื่อมมีคนเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากเมื่อก่อนเยอะ อาจด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน อาหารการกินที่มีไขมันสูง ทุกสิ่งส่งผลต่อการทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งทั่วไปอาการเข่าเสื่อมจะมีเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่สมัยนี้วัยรุ่นก็เป็นกันได้แล้ว เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าเราควรใช้ชีวิตอย่างไรไม่ให้เข่าเสื่อมไวกันดีกว่า

เข่าเสื่อมคืออะไร?

เข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the Knee) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่า ซึ่งทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานและช่วยให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น เมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมหรือสึกกร่อน จะทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม และข้อเข่าฝืด ซึ่งอาจทำให้การเคลื่อนไหวลำบากมากขึ้น

สาเหตุของเข่าเสื่อม

  1. อายุที่เพิ่มขึ้น: การเสื่อมของข้อเข่าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากการใช้งานข้อเข่ามาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดภาวะเข่าเสื่อมรวมถึงส่วนอื่น ๆ รอบ ๆ เข่าที่อาจจะเสื่อมสภาพตามมาด้วย
  2. น้ำหนักตัวเกิน: น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเพิ่มแรงกดบนข้อเข่า บริเวณต่าง ๆ ของเข่าทั้งเอ็นกล้ามเนื้อ กระดูก ต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำหนักมากจนเกินไป ควรมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่พอดีจะดีที่สุด
  3. การบาดเจ็บหรือการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป: การทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อเข่าอย่างหนัก เช่น การวิ่งหรือการยกของหนัก สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเข่าเสื่อมได้
  4. พันธุกรรม: หากมีประวัติครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม ความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้น
  5. โรคประจำตัว: โรคบางชนิด เช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นได้ เพราะโรคเหล่านี้จะมีผลมาจากการที่กระดูกขาดอะไรสักอย่างเสมอ

อาการของเข่าเสื่อม

  1. ปวดข้อเข่า: อาการปวดมักจะเกิดขึ้นขณะเคลื่อนไหว และลดลงเมื่อพัก
  2. ข้อเข่าฝืด: มักเกิดขึ้นในช่วงเช้าหลังตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักนานๆ
  3. ข้อเข่าบวม: เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่า
  4. เสียงกรอบแกรบในข้อเข่า: เกิดจากการเสียดสีของกระดูกในข้อเข่า
  5. การเคลื่อนไหวที่จำกัด: เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น จะทำให้การเคลื่อนไหวข้อเข่าลำบาก

อาการปวดเข่า บางครั้งก็อาจจะไม่ได้เกิดจากการเข่าเสื่อมเสมอไป มีหลายกรณีที่มีอาการปวดคล้ายเข้าเสื่อม แต่จริง ๆ แล้วเกิดจากกล้ามเนื้อรอบเข่ามีปัญหา ต้องใช้การตรวจหลายครั้ง ความชำนาญของแพทย์รวมถึงการบำบัดต่างๆที่ช่วยให้กล้ามเนื้อรอบเข่ากลับมาดีขึ้น เพราะฉะนั้น แม้ว่าเราจะปวดเข่าแต่ก็ทิ้งประเด็นอื่นรอบ ๆ เข่าไปไม่ได้อยู่ดี ต้องหมั่นตรวจและเช็คตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

Rheumatoid arthritis in human body

วิธีการดูแลและรักษาข้อเข่าเสื่อม

  1. การดูแลตนเอง
  • ควบคุมน้ำหนัก: การลดน้ำหนักช่วยลดแรงกดบนข้อเข่า ทำให้ลดความเสี่ยงของเข่าเสื่อมหรือกล้ามเนื้อ เอ็นต่าง ๆ ตามข้อไม่ได้รับการบาดเจ็บ
  • ออกกำลังกายเบา ๆ : การออกกำลังกายเช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะ สามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าและลดอาการปวดได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อเข่ามีความแข็งแรงขึ้น และการออกกำลังกายชนิดที่กล่าวมาข้างต้น จะไม่ค่อยกระทบต่อเข่าโดยตรง ทำให้โอกาสเกิดอาการบาดเจ็บที่เข่ามีน้อยลง
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่ารับแรงมากเกินไป: เช่น การยกของหนักหรือการนั่งยอง ๆ เป็นเวลานาน นอกจากทำให้เข่าเสื่อมไวแล้ว เวลาลุกขึ้นยังทำให้มีโอกาสหน้ามึน เวียนหัวได้อีกด้วย
  1. การรักษาด้วยยา
  • ยาบรรเทาปวด: เช่น พาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)แต่ต้องระวังการกินยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่องไม่ใช่เรื่องที่ดีต่อตับ เพราะฉะนั้นควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์จะดีที่สุดไม่ควรซื้อยากินเอง
  • ยาชะลอการเสื่อมของข้อ: เช่น ยากลุ่ม Glucosamine และ Chondroitin ต้องเป็นยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • 3. การทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ช่วยเพิ่มความแข็งแรงได้ดีและเพิ่มความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหวของข้อเข่าให้ดีขึ้น
  1. การผ่าตัด ในกรณีที่เข่าเสื่อมรุนแรงและการรักษาแบบอื่น ๆ ไม่ได้ผล การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนนี้ ต้องอาศัยความชำนาญและวินิจฉัยของแพทย์โดยละเอียดมาก ๆ เพราะการใส่เข่าเทียมไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ค่อนข้างมีความอันตราย แม้ไม่ถึงชีวิตแต่ก็มีผลต่อการเดิน และหลังจากผ่าแล้ว ต้องทำการบำบัดและกายภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถกลับมาเดินได้อย่างปกติที่สุด

การป้องกันเข่าเสื่อม

  1. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
  3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บข้อเข่า เช่น การกระโดดหรือการวิ่งบนพื้นแข็ง
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

เข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น น้ำหนักเกิน หรือการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป การดูแลรักษาเข่าเสื่อมสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การดูแลตนเอง การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

อ้างอิงจาก : https://arunhealthgarden.com/kneepain-2/6305/

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital