โรคหูดับ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ภาวะสูญเสียการได้ยินเฉียบพลัน” (Sudden Sensorineural Hearing Loss, SSNHL) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้การได้ยินลดลงหรือสูญเสียไปในช่วงเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง โดยอาการนี้มักเกิดขึ้นที่หูข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในบางกรณีอาจเกิดที่หูทั้งสองข้างได้เช่นกัน โดยปัจจุบันเราจะเห็นได้จากข่าวมากมาย ว่าโรคนี้เกิดจากการกินของดิบ อย่าง หมู นั่นเอง สายปาร์ตี้ต้องระวังกันนะเพราะโรคสมัยนี้มีการวิวัฒนาการแปลกขึ้นเรื่อย ๆ โรคที่เราไม่เคยได้เจอกเริ่มจะเป้นที่รูจักกันมากยิ่งขึ้น
อาการของโรคหูดับเป็นอย่างไร
- สูญเสียการได้ยินอย่างรวดเร็ว
ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าการได้ยินลดลงทันที หรือได้ยินเสียงเบาลงมากในหูข้างที่ได้รับผลกระทบหรือสูญเสียการได้ยินไปเลย - เสียงในหู (Tinnitus)
อาจรู้สึกได้ยินเสียงหวีด เสียงก้อง หรือเสียงอื้ออึงในหู - เวียนศีรษะหรือบ้านหมุน
ในบางกรณีผู้ป่วยอาจรู้สึกเวียนศีรษะร่วมด้วย อาการจะคล้ายกับอาการโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือกระดูกหูเคลื่อนนั่นเอง - อาการแน่นหู
บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนมีอะไรอุดในหู ทำให้รู้สึกได้ยินไม่ชัดและรู้สึกมีอะไรอัดเข้าไปในหู ทำให้เกิดความไม่สบายหูชั้นในได้
สาเหตุของโรคหูดับที่มักพบบ่อย
แม้ว่าสาเหตุที่แน่ชัดของโรคหูดับยังไม่สามารถระบุได้ในทุกกรณี แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่
- การติดเชื้อไวรัส
เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด หรือโรคอีสุกอีใส - ปัญหาการไหลเวียนโลหิต
การไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติไปยังหูชั้นใน - ภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ (Autoimmune)
ซึ่งอาจทำให้เซลล์ในหูชั้นในถูกทำลาย - การบาดเจ็บทางกายภาพ
เช่น การได้รับแรงกระแทกบริเวณหู - การสัมผัสเสียงดังอย่างรุนแรง
เช่น เสียงระเบิด หรือเสียงในสถานที่ทำงานที่ดังเกินไป
การวินิจฉัยโรคหูดับ อย่างไรได้บ้าง
- การตรวจการได้ยิน (Audiometry Test)
เพื่อวัดระดับการสูญเสียการได้ยิน - การตรวจ MRI หรือ CT Scan
เพื่อตรวจหาสาเหตุ เช่น การมีเนื้องอกหรือปัญหาโครงสร้างในสมองและหู - การซักประวัติสุขภาพ
เพื่อตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงหรือโรคประจำตัวที่อาจเกี่ยวข้อง
การรักษาโรคหูดับในปัจจุบัน
- การให้ยา
- สเตียรอยด์ (Steroids): ช่วยลดการอักเสบและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหูชั้นใน
- ยาขยายหลอดเลือด: ใช้ในบางกรณีเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด
- การรักษาด้วยออกซิเจนแรงดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)
เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและฟื้นฟูเซลล์ในหูชั้นใน - การผ่าตัด
ในกรณีที่มีสาเหตุเฉพาะ เช่น เนื้องอกในหู - การฟื้นฟูการได้ยิน
หากการได้ยินไม่ฟื้นตัว อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังหรือการฝังประสาทหูเทียม
การป้องกันโรคหูดับ ที่ทำได้ง่ายๆ
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการกินของดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบหรืองดทานของดิบเลย
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือด
- สวมอุปกรณ์ป้องกันหูในสถานที่ทำงานที่เสียงดัง
โรคหูดับเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูกทันที เพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวของการได้ยินได้ แม้ว่าโรคนี้มักจะเจอเมื่อสายหรือสูญเสียการได้ยินไปแล้ว แต่ถ้าเราหมั่นสังเกตและป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกำเนิดโรคหูดับ โอกาสที่จะกลับมาได้ยินเหมือนเดิมก็มีสูง บวกกับเทคโนโลยีสมัยนี้ที่มีความนำสมัย สามารถรักษาหรือมีตัวช่วยทุเลาโรคได้มากขึ้น
เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital