เช็กอาการตรวจไข้หวัดใหญ่เบื้องต้น รู้ก่อน ปลอดภัยกว่า

[SEMed Living Care Hospital] SEO OCT C02 1
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว ซึ่งมีการระบาดสูงสุดระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และมกราคมถึงมีนาคม จากสถิติของกรมควบคุมโรคปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 460,000 ราย โดยการตรวจไข้หวัดใหญ่อย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดการแพร่กระจายของเชื้อในชุมชน

รู้ทันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza หรือ Flu) เป็นการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจที่มีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B และ C โดยชนิด A และ B เป็นสาเหตุหลักของการระบาดในวงกว้าง เชื้อมีระยะฟักตัว 1-3 วัน และผู้ติดเชื้อสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนแสดงอาการ จนถึง 5-7 วันหลังเริ่มป่วยการแพร่กระจายเชื้อเกิดได้หลายทาง ทั้งการสูดดมละอองฝอยจากการไอ จาม การพูดคุยใกล้ชิดผู้ป่วย หรือการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำมือมาสัมผัสตา จมูก หรือปาก ทำให้โรคนี้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก

7 กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่

[SEMed Living Care Hospital] SEO OCT C02 2 1200x628
ทุกคนในทุกเพศทุกวัยสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ ทั้งนี้มี 7 กลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ได้แก่

1. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี

เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง เช่น ปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เป็นต้น

2. สตรีมีครรภ์

การตั้งครรภ์ส่งให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเปลี่ยนแปลง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์

3. ผู้ที่มีภาวะอ้วน

ภาวะอ้วนส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบหายใจ ทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจมากขึ้น

4. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

ผู้คนกลุ่มนี้มีข้อจำกัดในการดูแลตนเองและการแสดงอาการเจ็บป่วย ทำให้อาจได้รับการรักษาล่าช้า

5. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้มีความสามารถในการต่อสู้กับเชื้อโรคลดลง

6. ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง

ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน มักมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง หากติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

7. ผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป

ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยตามวัย ประกอบกับโรคประจำตัวร่วมด้วย ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงกว่าคนกลุ่มอื่นๆ

อาการสำคัญควรรู้ เมื่อตรวจไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยมีอาการสำคัญที่ควรสังเกต ดังนี้
  • มีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานหลายวัน และมักมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลังและขา
  • รู้สึกอ่อนเพลีย และอาจมีอาการเบื่ออาหาร
  • ไอแห้งๆ แบบไม่มีเสมหะ และเจ็บคอ
  • มีน้ำมูก คัดจมูก
  • บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย

ไข้หวัดใหญ่ ตรวจ ATK ขึ้นไหม

ประเด็นที่หลายคนสงสัยคือการใช้ชุดตรวจ ATK สำหรับตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่ อันดับแรกต้องทำความเข้าก่อนใจว่า ชุดตรวจ ATK ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 เท่านั้น จึงไม่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน มีโครงสร้างและคุณสมบัติแตกต่างกัน 
  • อธิบายถึงความเชื่อในการตรวจ ATK และไข้หวัดใหญ่
  • โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละชนิด ATK จึงตรวจไข้หวัดใหญ่ไม่ได้

ตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่กับโรงพยาบาล

[SEMed Living Care Hospital] SEO OCT C02 3 1200x628

หากสังเกตจากอาการของตนเองหรือคนรอบข้างเบื้องต้นอาจสามารถคาดเดาได้ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำต้องทำที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีความพร้อม โดยมีวิธีการตรวจหลายรูปแบบ เช่น

1. การตรวจหาเชื้อโดยตรง

แพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากโพรงจมูกหรือลำคอ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสด้วยวิธี RT-PCR หรือการเพาะเชื้อ

2. การตรวจหาแอนติเจน

เป็นการตรวจหาโปรตีนของเชื้อไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ ให้ผลเร็วแต่ความแม่นยำอาจน้อยกว่าวิธีแรก

3. การตรวจภูมิคุ้มกัน

ตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

การตรวจไข้หวัดใหญ่อย่างรวดเร็วและถูกต้องเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งการเข้ารับการรักษาภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังเริ่มมีอาการจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ นอกจากนี้ ต้องไม่ละเลยในการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองโรคต่างๆ รู้ความเสี่ยงต่อโรค และวางแนวทางการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ ให้บริการตรวจไข้หวัดใหญ่

โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ (SEMed Living Care Hospital) ผู้ให้บริการตรวจสุขภาพด้านอาชีวเวชศาสตร์ครบวงจร ให้บริการตรวจไข้หวัดใหญ่ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตั้งแต่การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน บริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และบริการตรวจสุขภาพนอกสถานที่แก่สถานประกอบการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการข้อมูล เพื่อความถูกต้องรวดเร็ว สามารถส่งผลการตรวจได้ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถดูผลตรวจสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้ 

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด 

ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด

หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)

อีเมล: info@semed.co.th

LINE: @semed

Facebook: SEMed living care hospital