ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานคืออะไร? นายจ้าง ลูกจ้างควรรู้

image

หนึ่งในบริการที่ทุกคนควรเข้ารับอย่างสม่ำเสมอ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยงและโรคแฝงต่างๆ ซึ่งหลายองค์กรอาจมีสวัสดิการด้านนี้ด้วย ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรนั้นๆ  ทั้งนี้ ในงานที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของบุคลากร องค์กรต้องตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานให้กับลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด

การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานคืออะไร

การ “ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง” คือ การตรวจสุขภาพตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมของสุขภาพของลูกจ้าง และผลกระทบต่อสุขภาพลูกจ้างที่อาจเกิดจากการทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 กล่าวคือ หากลูกจ้างเข้ามาทำงานที่มีความเสี่ยง นายจ้างจำเป็นต้องจัดการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างนั่นเอง

โดยนายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามระยะเวลา ดังกรณีต่อไปนี้

  • การตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรก  ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  • กรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องตรวจสุขภาพ ตามระยะเวลาอื่นตามผลการตรวจสุขภาพ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างตามระยะเวลานั้น

  • กรณีที่งานมีปัจจัยเสี่ยงเปลี่ยน หรือแตกต่างไปจากเดิม ให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างตามปัจจัยเสี่ยงใหม่ทุกครั้ง ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่เปลี่ยนงาน

  • ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหยุดงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป  เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใด ๆ ก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน ให้นายจ้าง ขอความเห็นจากแพทย์ผู้รักษาหรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการ หรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างโดยแพทย์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ หรือผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง

งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงมีลักษณะอย่างไร

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563 ได้กำหนดงานประเภทต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อลูกจ้าง โดย “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง” แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 

  1. สารเคมีอันตรายตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
  2. จุลชีวันเป็นพิษที่อาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือสารชีวภาพอื่น
  3. กัมมันตภาพรังสี
  4. ความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน ความกดดันบรรยากาศ แสง หรือเสียง
  5. สภาพแวดล้อมอื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้าง เช่น ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นไม้ ไอควันจากการเผาไหม้

หากในสถานที่ทำงานมีปัจจัยเสี่ยงด้านสุภาพข้างต้น นายจ้างก็จำเป็นต้องจัดการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง

วัตุประสงค์การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง มีอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานมีความสำคัญหลายด้าน ทั้งกับนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้

1. ป้องกันโรคที่อาจพบได้ในระยะต้น

ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  การคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นต้น

2. ประเมินความเหมาะสมของลูกจ้างต่อการทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง

เพื่อให้นายจ้างทราบว่าสภาพร่างกายของลูกจ้างมีความพร้อมหรือไม่ เช่น การทำงานในที่อับอากาศ การทำงานบนแท่นน้ำมัน การทำงานบนเรือ เป็นต้น

3. เก็บข้อมูลพื้นฐาน

 เพื่อเป็น Baseline สำหรับอ้างอิง และประเมินการเปลี่ยนแปลงจากการตรวจเฝ้าระวังในแต่ละปี

4. ตรวจหาความผิดปกติของลูกจ้าง ที่อาจเกิดจากการทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยง

เป็นการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงประจำปี หรือตรวจสุขภาพประเมินความพร้อมก่อนกลับเข้าทำงานหลังได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อเฝ้าระวังโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงสถานที่ทำงานที่มีเสียงดัง การตรวจสมรรถภาพปอดให้กับพนักงานที่สัมผัสสารเคมีที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ตรวจอะไรบ้าง

image
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงานมีรายการตรวจที่ครอบคลุมหลากหลาย โดยสามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ ตามปัจจัยเสี่ยงของแต่ละสถานที่ทำงานได้ดังนี้

1. สารเคมีอันตราย 

  • ตรวจปริมาณสารเคมีสะสมในร่างกาย (เลือด/ปัสสาวะ) ที่มีค่าดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (BEI) ตามกฎหมาย
  • ตรวจผลกระทบต่อระบบในร่างกายที่เป็นอวัยวะเป้าหมาย เช่น ผิวหนัง ตา ปอด ตับ ไต ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น

2. จุลชีวันเป็นพิษ 

ตรวจการติดเชื้อตามความเสี่ยงของลักษณะงานที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อ  เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ A/B/C

3. กัมมันตภาพรังสี

  • ตรวจเฝ้าระวัง จากการตรวจ CBC ประเมินภาวะเม็ดเลือดขาว (ร่วมกับการตรวจวัดปริมาณการสัมผัสรังสีสะสม)
  • การตรวจอสุจิ กรณีพบภาวะผิดปกติ หรือได้รับปริมาณรังสีเกินเกณฑ์มาตรฐาน

4. ความร้อน ความเย็น สั่นสะเทือน แสง เสียงความกดดันบรรยากาศ

  • ความร้อน ความเย็น สั่นสะเทือน: ซักประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกายทั่วไป เน้นระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • แสง: ซักประวัติสุขภาพเกี่ยวกับการมองเห็น ตรวจสายตาทั่วไป ทดสอบสายตาด้านอาชีวอนามัย เป็นต้น
  • เสียง: ซักประวัติสุขภาพเกี่ยวกับการได้ยิน ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

5. สิ่งแวดล้อม (ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นไม้ ไอควันจากการเผาไหม้)

ตรวจระบบทางเดินหายใจ : ตรวจร่างกายทั่วไป เอกซเรย์ปอด ทดสอบสมรรถภาพปอดนอกจากการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานแล้ว ยังมีการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเหมาะสมและความพร้อมของร่างกายสำหรับการทำงานที่เป็นความเสี่ยง ได้แก่

1. ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง

โดยมีรายการตรวจ ได้แก่ ซักประวัติสุขภาพ  ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจภาวะเบาหวาน ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน ทดสอบสายตาด้านอาชีวอนามัย เป็นต้น 

2. ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

โดยมีรายการตรวจ ได้แก่ ซักประวัติสุขภาพ  ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจภาวะเบาหวาน ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน ทดสอบสายตาด้านอาชีวอนามัย เป็นต้น

3. ตรวจสุขภาพสำหรับผู้ปฏิบัติงานสัมผัสอาหาร

โดยมีการตรวจหาเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจไข่พยาธิในอุจจาระ เป็นต้น

โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีครบวงจร

โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ (SEMed Living Care Hospital) ผู้ให้บริการตรวจสุขภาพด้านอาชีวเวชศาสตร์ครบวงจร ให้บริการตรวจสุขภาพนอกสถานที่แก่สถานประกอบการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมไปถึงการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการข้อมูล เพื่อความถูกต้องรวดเร็ว สามารถส่งผลการตรวจได้ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถดูผลตรวจสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้ 

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด ช่วยวางแผนการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงและตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด

หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)

อีเมล: info@semed.co.th

LINE: @semed

Facebook: SEMed living care hospital