สังเกตให้ดี! อาการไข้เลือดออกระยะแรกเป็นอย่างไร เพื่อรักษาแบบทันท่วงที

[SEMed Living Care Hospital] SEO OCT C01 1

โรคไข้เลือดออกนับเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูที่พาหะนำโรคอย่าง “ยุง” แพร่พันธุ์เป็นจำนวนมาก การระบาดของโรคนี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนในทุกเพศทุกวัย ดังนั้น การสังเกตอาการไข้เลือดออกระยะแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

โรคไข้เลือดออกคืออะไร?

ไข้เลือดออก คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ที่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค เชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายสู่คนได้เมื่อยุงลายที่เป็นพาหะดูดเลือด เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด และก่อให้เกิดการติดเชื้อและป่วยตามมาหลังจากถูกกัดประมาณ 3-15 วัน จึงนับเป็นโรคหนึ่งที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนที่มีแหล่งน้ำขังและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ของยุง

[SEMed Living Care Hospital] SEO OCT C01 2 1200x628

กลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย พบบ่อยในเด็กวัยเรียน วัยทำงานตอนต้น และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ 

  • เด็กทารก
  • ผู้สูงอายุ
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ผู้ป่วยเรื้อรัง อาทิ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
  • ผู้ที่รับประทานยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาแก้อักเสบในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

ลักษณะอาการทั่วไปของโรคไข้เลือดออก

วิธีสังเกตอาการไข้เลือดออกระยะแรกสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะหลัก โดยแต่ละระยะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ระยะไข้ (Febrile Phase)

อาการไข้เลือดออกระยะแรก หรือ “ระยะไข้สูง” ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลันเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 40-41 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ มีอาการหน้าแดง ตาแดง และอาจพบผื่นแดงตามตัว นอกจากนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียนร่วมด้วย ซึ่งระยะนี้จะมีอาการต่อเนื่องเป็นเวลา 3-7 วัน

2. ระยะวิกฤต (Critical Phase)

ระยะต่อมาคือ ระยะวิกฤต หรือ “ระยะช็อกหรือเลือดออก” เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังมากที่สุด เพราะผู้ป่วยอาจเกิดภาวะช็อกจากไข้สูง มีอาการเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ผิวหนัง จมูก เหงือก หรืออวัยวะอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้คนไข้ราว 1 ใน 3 มีความดันโลหิตต่ำ และเกิดภาวะช็อก เนื่องจากมีการรั่วไหลของพลาสมาไปยังช่องปอดหรือช่องท้องมาก ซึ่งมักเกิดร่วมกับไข้ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยระยะดังกล่าวจะใช้เวลาราวๆ 24-48 ชั่วโมง

3. ระยะฟื้นตัว

ในระยะฟื้นตัว ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการดีขึ้นตามลำดับ โดยไข้จะค่อยๆ ลดลง อาการต่างๆ จะทุเลา ผู้ป่วยจะเริ่มอยากอาหารมากขึ้น และอาจพบผื่นแดงหรือจุดเลือดออกเล็กที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นสัญญาณของการฟื้นตัว ทั้งนี้ผู้ป่วยก็ควรใช้เวลาฟื้นตัว พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก พร้อมติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

วิธีสังเกตอาการไข้เลือดออกระยะแรก

จะเห็นได้เวลาอาการของโรคไข้เลือดออกนั้นมีความรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะวิกฤต ดังนั้นจึงหมั่นสังเกตอาการตนเองและคนรอบข้างตั้งแต่เนิ่นๆ โดยวิธีสังเกตอาการไข้เลือดออกระยะแรกเริ่มมีดังนี้ 

  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส  ต่อเนื่องประมาณ 2-7 วัน และไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้เท่าที่ควร 
  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ หน้าซีด หายใจเร็ว และอ่อนเพลียอย่างมา
  • ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก หากพบว่ามีอาการปวดท้องรุนแรงโดยเฉพาะบริเวณชายโครงด้านขวา มีอาการอาเจียนต่อเนื่อง หรือสังเกตพบจุดเลือดออกตามผิวหนัง ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

การตรวจร่างกายเบื้องต้นที่บ้านสามารถทำได้โดยการกดผิวหนังเบาๆ หากพบรอยจ้ำเลือดหรือจุดแดงเล็กๆ ขึ้นตามผิวหนัง อาจเป็นสัญญาณของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอาการสำคัญของไข้เลือดออก

การรักษาโรคไข้เลือดออก

[SEMed Living Care Hospital] SEO OCT C01 3 1200x628

ทันทีที่ได้รับการยืนยันผลการตรวจ แพทย์จะให้การรักษาโรคไข้เลือดออกด้วยการช่วยให้ร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะให้การดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วง 24-48 ชั่วโมงเพื่อป้องกันภาวะช็อก

การรักษาที่สำคัญประการแรก คือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด (Fluids Replacement) หรือการให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือดดำ โดยเฉพาะในผู้ที่มีการสูญเสียน้ำในร่างกายมาก มีอาการอาเจียนหรือถ่ายอุจจาระอย่างต่อเนื่อง มีความดันโลหิตต่ำหลังมีไข้สูง หรือไม่อยากอาหารและน้ำ การให้สารน้ำหรือน้ำเกลือทางหลอดเลือดจะช่วยชดเชยของเหลวในร่างกายที่สูญเสียไป

แพทย์จะให้ยาแก้ปวดลดไข้ (Pain Relievers) เช่น ยาพาราเซตามอล (Acetaminophen) หรือยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะได้รับผงเกลือแร่โอ อาร์ เอส (ORS-Oral Rehydration Salt) เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมากทั้งจากอวัยวะภายใน แพทย์อาจพิจารณาให้เลือด (Blood Transfusion) เพื่อป้องกันภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือดในร่างกาย ทั้งนี้ ในระหว่างการรักษา แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะเลือดเป็นระยะเพื่อตรวจค่าเลือด เฝ้าระวังภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวลดต่ำ เม็ดเลือดแดงเข้มข้น หรือความดันโลหิตต่ำ

แนวทางการป้องกันโรคไข้เลือดออก

1. หมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

การป้องกันที่มีประสิทธิภาพเริ่มจากการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้านและชุมชน และควรติดตั้งมุ้งลวดและใช้ยากันยุงเพื่อป้องกันการถูกยุงกัด

2. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

ปัจจุบัน มีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส ช่วยลดความรุนแรงของโรคในกรณีติดเชื้อ 

3. ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ 

ควรเข้าตรวจสุขภาพประจำปี คัดกรองโรคที่ซ่อนเร้น พร้อมทราบความเสี่ยง และโรคแทรกซ้อนต่างๆ เพื่อให้สามารถรู้ถึงแนวทางการรักษาสุขภาพที่เหมาะสม
กล่าวได้ว่า การสังเกตอาการไข้เลือดออกระยะแรกเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง โดยโรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพด้วยมาตรฐานการรักษาระดับสากล เพื่อดูแลสุขภาพของคุณและครอบครัวอย่างครบวงจร

โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ ให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี

โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ (SEMed Living Care Hospital) ผู้ให้บริการตรวจสุขภาพด้านอาชีวเวชศาสตร์ครบวงจร ให้บริการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ตั้งแต่การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในการทำงาน บริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และบริการตรวจสุขภาพนอกสถานที่แก่สถานประกอบการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน นำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการข้อมูล เพื่อความถูกต้องรวดเร็ว สามารถส่งผลการตรวจได้ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถดูผลตรวจสุขภาพผ่านระบบออนไลน์ได้ 

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด 

ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 

โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด

หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)

อีเมล: info@semed.co.th

LINE: @semed

Facebook: SEMed living care hospital