วิธีป้องกันตัวเองจาก”โรคน้ำกัดเท้า”

Ways to Prevent Athlete’s Foot TH
โรคน้ำกัดเท้า

น้ำกัดเท้า เป็นภาวะที่ผิวหนังเท้าเปื่อยลอก แดง แสบและคัน เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำบ่อย ๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าเกิดแผลได้ง่าย และอาจติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียได้

อาการของโรคน้ำกัดเท้า
สาเหตุจากระคายเคือง:
  • คันผิวหนัง แสบแดง เปื่อยลอก มักเป็นบริเวณซอกนิ้ว จมูกเล็บ หรืออาจเป็นทั้งเท้าได้
สาเหตุจากการติดเชื้อ:
  • หากมีการติดเชื้อรา ผิวจะมีผื่นคัน ลอกเป็นวง ๆ มีตุ่มน้ำใส เท้ามีกลิ่น
  • หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการปวด บวม แดงร้อน กดเจ็บ เท้ามีกลิ่นหรือถ้าเป็นมากและรุนแรง อาจมีอาการปวด บวม ของขาและขาหนีบข้างเดียวกันหรือมีไข้ได้
วิธีการป้องกันตัวเองจากโรคน้ำกัดเท้า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำบ่อย ๆ หากต้องแช่น้ำเป็นเวลานานหรือเดินย่ำน้ำ ควรสวมรองเท้าที่กันน้ำได้
  • รีบเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังเท้าเปียก โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า และหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่อากาศระบายยาก ต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • รักษาความสะอาดของเท้าอยู่เสมอ โดยการล้างเท้าและฟอกสบู่ และทาครีมให้ความชุ่มชื้นทุกครั้ง ควรตัดเล็บให้สั้น
  • ในกรณีที่มีเหงื่อออกมากบริเวณฝ่าเท้า อาจใช้แป้งโรยเล็กน้อยหรือยาทาลดเหงื่อ เพื่อให้ช่วยดูดซับเหงื่อส่วนเกิน
  • หากเกิดบาดแผล ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสของแผลกับน้ำขังและรีบรักษาให้หายโดยเร็ว
  • ปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติของผิวหนังบริเวณเท้า

 

แหล่งข้อมูลโดย : นายแพทย์ชนัทธ์ กำธรรัตน์ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

แชร์