โรค Heat Stroke อันตรายถึงชีวิต ป้องกันไว้อย่าเสี่ยง!

Heat Stroke TH

โรค Heat Stroke หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า “โรคลมแดด” เป็นภาวะที่เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินไป จนระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานผิดปกติ มักเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือเมื่อมีการออกกำลังกายอย่างหนักในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคนี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและถึงแก่ชีวิตได้เลย ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวมาก อย่าละเลยเป็นอันขาด

สาเหตุของโรค Heat Stroke เกิดขึ้นเฉียบพลัน

  1. อากาศร้อนจัด: อุณหภูมิภายนอกสูงมากจนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเพียงพอ
  2. การออกกำลังกายหนัก: กิจกรรมทางกายที่ต้องใช้พลังงานสูงในสภาพแวดล้อมร้อนชื้น เช่น การวิ่งมาราธอน
  3. การขาดน้ำ: การดื่มน้ำไม่เพียงพอในขณะที่ร่างกายต้องสูญเสียเหงื่อมาก ทำให้ร่างกายขาดสมดุล
  4. การอยู่ในสถานที่ที่ระบายอากาศไม่ดี: เช่น การอยู่ในรถที่ปิดสนิทหรือห้องที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

อาการของโรค Heat Stroke

  • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 °C
  • ผิวหนังแห้งและร้อน ไม่มีเหงื่อ (ในบางกรณีอาจมีเหงื่อออก)
  • หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว แรงกว่าปกติมาก
  • ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน
  • การตอบสนองของระบบประสาทเปลี่ยนไป เช่น สับสน หมดสติ หรือชัก

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคลมแดดในช่วงหน้าร้อน

  1. ผู้สูงอายุ
  2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  3. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
  4. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  5. ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น
  6. ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
  7. ผู้ที่ทำงานหรือกิจกรรมกลางแดด เช่น นักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก โดยไม่มีการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

การป้องกันโรค Heat Stroke

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ: โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อนหรือมีกิจกรรมหนัก เช่น ออกกำลังกายในฤดูร้อน
  2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเวลาที่ร้อนจัด: เช่น ช่วงเวลา 11.00 – 15.00 น.
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี: ใช้วัสดุที่เบาและไม่รัดรูป มีเนื้อผ้าบางสะบายไม่หนาเกินไป
  4. ใช้เครื่องช่วยลดอุณหภูมิ: เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ หรือการอาบน้ำเย็น แต่ก็ควรระวังไม่ควรอาบน้ำเย็นจัดเกินไปหลังจากที่ออกไปเจออากาศร้อนมากมา
  5. ไม่ปล่อยเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถยนต์: แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆก็ตาม เพราะเป็นบริเวณที่ระดับความร้อนสูง

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. ย้ายผู้ป่วยไปยังที่ร่มหรือที่เย็น: หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง หรือพาไปในท่อากาศถ่ายเทได้ดี
  2. ลดอุณหภูมิร่างกายทันที: ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว หรือพ่นน้ำเย็นลงบนร่างกาย
  3. ให้ดื่มน้ำ: หากผู้ป่วยยังมีสติและสามารถดื่มน้ำได้ ให้ทานน้ำเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป
  4. โทรแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์: หากอาการไม่ดีขึ้นหรือผู้ป่วยหมดสติ รีบส่งโรงพยาบาลทันทีหรือ สายด่วน 1669

โรค Heat Stroke เป็นภาวะที่ควรตระหนักถึงและไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนหรือในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง การป้องกันและการดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้ หากพบอาการผิดปกติควรรีบปฏิบัติตามขั้นตอนปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมความคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital