ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ Hypoglycemia เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ตั้งแต่ความรู้สึกอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ไปจนถึงหมดสติได้ หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมหรือทันท่วงที ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ก็สามารถเกิดขึ้นกับคนทั่วไปได้เช่นกันในบางกรณี เช่น คนที่ควบคุมน้ำตาลมากเกินไป ควบคุมอาหาร หรือคนที่ออกกำลังกายเยอะกว่าปกติ คนเหล่านี้ก็จำเป็นต้องระมัดระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยเหมือนกัน
สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มาจากอะไรบ้าง?
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
- สาเหตุจากการรักษาโรคเบาหวาน
- การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น อินซูลิน หรือยากลุ่ม Sulfonylureas
- การบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือข้ามมื้ออาหาร
- การออกกำลังกายหนักเกินไป โดยไม่ได้ปรับปริมาณอาหารหรือยาให้เหมาะสม
- การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ตับไม่สามารถปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดได้ตามปกติ
- สาเหตุในคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวาน
- ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ เช่น ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง
- การทำงานของตับผิดปกติ เช่น โรคตับอักเสบหรือโรคตับแข็ง
- การอดอาหารเป็นเวลานาน
- เนื้องอกในตับอ่อนที่สร้างอินซูลินมากเกินไป (Insulinoma)
เช็ค! อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ อาการในระยะแรกเริ่มและอาการในระยะรุนแรงแตกต่างกันอย่างไร
อาการในระยะแรกเริ่ม
- หิวมากผิดปกติ
- เหงื่อออกมาก
- เวียนศีรษะ
- ใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็ว
- มือสั่น
- รู้สึกกระสับกระส่าย
อาการในระยะรุนแรง
- สับสน
- พูดไม่ชัด
- การมองเห็นพร่ามัว
- ชัก
- หมดสติ
- ในกรณีที่รุนแรงมากอาจนำไปสู่ภาวะโคม่าได้
- หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิต
การวินิจฉัยภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำด้วยวิธีอะไรได้บ้าง
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดในขณะที่มีอาการ โดยปกติแล้ว หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่าเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเริ่มเป็นอันตรายแล้ว ต้องเฝ้าระวังหรือไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้อยู่ในการควบคุมของแพทย์เสมอ เป็นการลดความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- การสังเกตอาการ
ผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ถึงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เช่น เวียนศีรษะ เหงื่อออก หรือใจสั่น รุ็สึกเหมือนจะเป็นลม บางครั้งอาการจะคล้ายแพนิก ซึ่งต้องหมั่นเช็คสุขภาพเป็นประจำ
- การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
ในบางกรณีที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจฮอร์โมน การตรวจตับ และการตรวจเนื้องอกในตับอ่อน
การปฐมพยาบาลและการดูแลเบื้องต้น
เมื่อพบผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรดำเนินการดังนี้:
- การให้กลูโคส
- หากผู้ป่วยยังมีสติ ควรให้รับประทานกลูโคสหรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ ลูกอม หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
- หากไม่มีอาหารที่มีน้ำตาล สามารถให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปัง หรือข้าว
- การฉีดกลูคากอน (Glucagon)
- ในกรณีที่ผู้ป่วยหมดสติหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ควรฉีดกลูคากอนเพื่อกระตุ้นการปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
- หลังจากฉีดกลูคากอน ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้โดย:
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ช่วยให้ร่างกายจดจำการกำจัดไขมันที่ไม่จำเป็นออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดีและเป็นเวลา
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ เช็คร่างกายและดูผลเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดให้คงที่
- ปรับปริมาณยาตามคำแนะนำของแพทย์ สำหรับคนที่ต้องกินยา ต้องทำตามแพทย์สั่งเสมอ อย่าใช้เกินขนาดต้องพอเหมาะ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพราะมีสารที่ทำให้ร่างกายไม่สมดุลและยังมีผลต่อการนอนการกินและไขมันพอตับด้วย
- พกอาหารหรือขนมที่มีน้ำตาลติดตัวไว้เสมอ เมื่อรู้สึกเพลียอ่อนแรง หรือรู้สึกจะเป็นลม
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น การรับรู้ถึงอาการและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและจัดการกับภาวะนี้ได้ รวมถึงอาการเริ่มต้นควรศึกษาไว้ด้วยเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หรือเข้าตรวจคัดกรองการเป็นโรคเบาหวาน หรือเช็คน้ำตาลในเลือดเมื่อรุ็สึกไม่ดีต่อตัวเอง
อ้างอิงจาก : https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/hypoglycemia
https://www.samitivejhospitals.com
เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital