วัณโรค โรคร้ายที่คุกคามทั่วโลก

TH

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ TB เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อปอดโดยตรง แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น กระดูก สมอง ต่อมน้ำเหลือง และระบบทางเดินอาหาร วัณโรคเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่มีความร้ายแรงและแพร่กระจายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ยังไม่แข็งแรงหรือไม่ถูกสุขอนามัยหรือที่ ๆ มีประชากรเยอะและแออัด จึงมักจะเจอคนเป็นโรคนี้แผ่เป็นวงกว้างถ้าระบาดขึ้นมา

สาเหตุและการแพร่กระจายของโรควัณโรค

วัณโรคแพร่กระจายผ่านทางอากาศ ผ่านทางละอองที่ลอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยที่มีเชื้อวัณโรคในปอด จะไอ จาม หรือพูด มีน้ำลายหรือเสมหะที่มีเชื้อสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของผู้อื่นได้โดยตรง ความแออัดในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ชุมชนแออัด เรือนจำ หรือที่พักอาศัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะมีประชากรค่อนข้างมากแต่พื้นที่อาศัยค่อนข้างเล็กแคบ ยิ่งมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของวัณโรคได้ง่ายมาก ๆ เรามาดูว่าอาการของวัณโรคเป็นอย่างไรกันและมีวิธีป้องกันแบบไหน ลองอ่านบทความนี้ดู

อาการของวัณโรค

  • ไอเรื้อรังเกินกว่า 2 สัปดาห์และติดต่อคนรอบข้าง
  • มีเสมหะปนเลือด ข้นเหนียวกว่าปกติ ระคายคอ
  • ไข้ต่ำในช่วงบ่ายหรือเย็น
  • เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า

การวินิจฉัยโรควัณโรคอย่างละเอียด

  • การเอกซเรย์ปอด เพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้นหรือผังผืดที่ปอด
  • การตรวจเสมหะ เพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อวัณโรค
  • การทดสอบทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test) หรือ การตรวจเลือด เพื่อหาการติดเชื้อในร่างกาย

การรักษาโรควัณโรค

การรักษาวัณโรคจำเป็นต้องใช้ยาต้านวัณโรคตามที่แพทย์กำหนด โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 6-9 เดือน

  • ไอซโอนิอะไซด์ (Isoniazid)
  • ไรแฟมพิซิน (Rifampicin)
  • ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
  • อีแทมบูทอล (Ethambutol)

ผู้ป่วยต้องรับประทานยาต่อเนื่องตามกำหนดเวลาเพื่อป้องกันการดื้อยา ซึ่งการดื้อยาเป็นปัญหาที่สำคัญของกลุ่มคนจำนวนไม่น้อย ที่ละเลย ทำให้โอกาสเกิดโรควัณโรคซ้ำมีมากยิ่งขึ้น และบางรายที่เป็นอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตเพราะยาต้านไม่อยู่

การป้องกันวัณโรคให้ไกลห่างตัว

  1. การฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด จำเป็นมาก ๆ คุณพ่อคุณแม่อย่าละเลย
  2. การป้องกันการแพร่กระจาย เช่น สวมหน้ากากอนามัยในสถานที่แออัดหรือเลี่ยงการเข้าไปในที่ ๆ คนเยอะ
  3. การรักษาผู้ป่วยทันที เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
  4. การตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาลหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
sick woman home

สถานการณ์วัณโรคในปัจจุบัน

แม้ว่าการแพทย์จะมีความก้าวหน้าในการรักษาและป้องกันวัณโรค แต่โรคนี้ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง สาเหตุสำคัญคือปัญหาความยากจน การขาดแคลนทรัพยากรด้านสุขภาพ และการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคดื้อยา ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ดีของมนุษย์

วัณโรคเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้ หากมีการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม แต่ความสำเร็จในการควบคุมวัณโรคจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนการป้องกันโรคนี้ในทุกชุมชนอย่างยั่งยืน

เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital