ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) เป็นภาวะที่มีระดับไขมันในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐานทั่วไป ซึ่งไขมันในเลือดประกอบด้วยคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) หรือไขมันไม่ดีนั่นแหละ ภาวะนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดตีบ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานได้ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและไม่ปรับพฤติกรรม ภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถป้องกันและแก้ได้แต่ต้องปรับพฤติกรรมหลายอย่าง มีอะไรบ้างมาดูกัน
ประเภทของไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไรบ้าง
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol
- คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่
- LDL (Low-Density Lipoprotein) หรือ “คอเลสเตอรอลเลว” ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมา ซึ่งต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง หลีกเลี่ยงไขมันประเภทนี้
- HDL (High-Density Lipoprotein) หรือ “คอเลสเตอรอลดี” ที่ช่วยขจัดไขมันส่วนเกินออกจากหลอดเลือด
- คอเลสเตอรอลเป็นสารไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)
- เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบในเลือด เกิดจากพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายไม่ได้ใช้และสะสมเป็นไขมันในเซลล์ไขมัน หากระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อาการเริ่มต้น บางครั้งก็มีอาการเวียนหัว บ้านหมุน อาเจียน ก็มีหรืออาจจะไม่แสดงอาการเลยก็มี เป็นครั้งเดียวถึงชีวิตเลย
สาเหตุของไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถเกิดจากหลายปัจจัย
- พฤติกรรมการกินอาหาร
- การบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูง เช่น อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว และเนื้อสัตว์แปรรูป อย่างเช่น พวกไส้กรอก ลูกชิ้น อาหารที่ผ่านขั้นตอนการทำต่างๆให้เกิดเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่ง
- การขาดการออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับ HDL และลดระดับ LDL การขาดการออกกำลังกายจึงทำให้ระดับไขมันในเลือดไม่สมดุลและไม่ถูกสลายไขมันเลวออก ทำให้เกิดการสะสมของไขมันสูงขึ้นเรื่อยๆ
- พันธุกรรม
- บางคนมีพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของไขมันในเลือดสูงแต่กำเนิด
- โรคประจำตัวและการใช้ยา
- โรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต และภาวะไทรอยด์ต่ำ อาจเป็นสาเหตุของไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ก็อาจส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้นได้ การได้รับยาแต่ละชนิด จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดและรับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้นเป็นดีที่สุด
ผลกระทบของไขมันในเลือดสูง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดการสะสมของคราบไขมันในหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันของหลอดเลือดและทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- การอุดตันของหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังสมองอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตกได้เป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก
- โรคเบาหวาน
- ไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้
วินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูง
แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับไขมันในเลือด โดยการตรวจระดับคอเลสเตอรอลรวม, LDL, HDL และไตรกลีเซอไรด์ การวินิจฉัยจะพิจารณาจากผลการตรวจและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น อายุ น้ำหนัก และประวัติครอบครัว
วิธีการลดไขมันในเลือด
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
- ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และอาหารที่มีน้ำตาลสูงติดต่อกัน
- เพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ และอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างสมดุล
- การออกกำลังกาย
- ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำและถ้าใครที่มีน้ำหนังเยอะ ก็ควรเลี่ยงการออกกำลังกายที่มการเคลื่อนไหวกระโดนที่จะกระทบต่อหัวเข่าและข้อต่างๆ อาจจะเปลี่ยนเป็นออกกำลังกาย อย่าง เล่นโยคะ ว่ายน้ำแทน
- การเลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์
- การสูบบุหรี่ทำให้ระดับ HDL (ไขมันดี)ลดลง และการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากส่งผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจมองข้าม แต่จริงๆแล้วเป็นพฤติกรรมใกล้ตัวมากและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
- การใช้ยา
- ในกรณีที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือดได้เพียงพอ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาลดไขมัน เช่น สแตติน (Statins)
การป้องกันไขมันในเลือดสูง
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่าปล่อยให้น้ำหนักเกิน หรือผอมจนเกินไปอันนั้นก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน
- บริโภคอาหารที่มีประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีรสชาติหวาน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ระดับไขมันที่ดีและเลวอยู่ในภาวะที่เหมาะสม และช่วยลดไขมันเลวได้ดีอีกวิธีหนึ่งเลย
- ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเฝ้าระวังระดับไขมันในเลือดอุดตัน หรือสูงเกินเกณฑ์ ถ้าเจอภาวะไขมันในเลือดสูง แพทย์จะได้ช่วยควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิด โอกาสที่จะหายก็มีสูง
ไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง หากไม่ได้รับการดูแล อาจนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน การป้องกันและจัดการไขมันในเลือดสูงสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาวและยั่งยืน
อ้างอิงจาก : https://www.phyathai.com/th/article/
เราพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการแก่สถานประกอบการ ให้หัวข้อต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพและด้านอาชีวเวชศาสตร์ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มอบบริการที่ใส่ใจ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านพึงพอใจและได้ประโยชน์สูงสุด
ตรวจสุขภาพครั้งใด.. นึกถึง โรงพยาบาลซีเมด ลีฟวิ่งแคร์ เราไม่เคยหยุดนิ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital