โรคหัวใจเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจนั้นมาจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ รวมถึงวิธีลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคหัวใจในอนาคตอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจในปัจจุบัน
1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจ
- พันธุกรรม: หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน ความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- อายุ: ความเสี่ยงของโรคหัวใจเพิ่มขึ้นตามอายุโดยมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีในผู้ชาย และ 55 ปีขึ้นไปในผู้หญิง
- เพศ: ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเร็วกว่าผู้หญิง แต่หลังจากผู้หญิงอยู่ในวัยหมดประจำเดือน ความเสี่ยงของผู้หญิงก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ
2.ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- พฤติกรรมการบริโภคอาหาร: การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงอย่างไขมันทรานส์ และน้ำตาลในปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
- การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากสารเคมีในบุหรี่ทำลายหลอดเลือดและเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตันของหลอดเลือด
- การออกกำลังกาย: การไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานน้อยลง ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เราควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ความเครียด: ความเครียดที่ไม่ได้รับการจัดการอาจส่งผลต่อความดันโลหิตและสุขภาพหัวใจในระยะยาว
- การดื่มแอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจนั่นเอง
3.โรคที่เพิ่มความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหัวใจได้
- โรคเบาหวาน: ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดเสียหายได้ง่าย
- ความดันโลหิตสูง: ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว
- ภาวะไขมันในเลือดสูง: ไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดคราบไขมันสะสมในหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดอุดตัน
วิธีลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
1.การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: เลือกบริโภคอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองและยังช่วยให้อวัยวะอื่นๆของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
- เลิกสูบบุหรี่: การเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ทันที
- จัดการความเครียด: ฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น โยคะ การนวด หรือการฟังเพลงผ่อนคลาย
2.การตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อป้องกันโรคหัวใจ
- การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจพบปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดได้แต่เนิ่นๆ เพื่อวางแผนการรักษาและป้องกันได้ทันเวลา
3.การควบคุมโรคร่วมที่อาจเป็นผลทำให้เกิดโรคหัวใจ
การควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากโรคเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจ การรับประทานยาตามแพทย์สั่งและติดตามผลการรักษาเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้
ความเสี่ยงของโรคหัวใจสามารถลดลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การควบคุมโรคร่วม และการตรวจสุขภาพประจำปี แม้ว่าปัจจัยบางอย่าง เช่น พันธุกรรมและอายุ จะไม่สามารถควบคุมได้ แต่การดูแลสุขภาพที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง และการตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลหัวใจจะช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและห่างไกลจากโรคหัวใจในระยะยาวหรือถ้าใครไม่แน่ใจหรือต้องการตรวจสุขภาพหัวใจประจำปี แนะนำโรงพยาบาล ซีเมด ลิฟวิ่ง แคร์ โรงพยาบาลที่มีโปรแกรมการตรวจคัดกรองโรคหัวใจอย่างแม่นยำ และเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital