“มะเร็งตับ” ภัยเงียบ! ที่ควรรู้จักและการดูแลตัวเอง
มะเร็งตับ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลกและประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งตับเป็นจำนวนมากขึ้นทุกๆปี เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการล้างสารพิษ ผลิตโปรตีน และควบคุมการเผาผลาญ ถ้าเราทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น จะช่วยให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตับและทำกิจกรรมป้องกันการเกิดโรงมะเร็งตับได้
มะเร็งตับคืออะไร มีกี่แบบ?
มะเร็งตับเกิดจากการเจริญเติบโตแบบผิดปกติของเซลล์ในตับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆที่ควรทำความรู้จักกันไว้ เพื่อจำแนกความน่ากลัวของมะเร็งตับนั่นเอง
1. มะเร็งตับ ระยะปฐมภูมิ (Primary Liver Cancer)
- เกิดจากเซลล์ในตับเองเป็นมะเร็งตับชนิดเริ่มต้น เช่น มะเร็งตับชนิด Hepatocellular Carcinoma (HCC) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในจำนวนคนที่เป็นมะเร็งตับ
2. มะเร็งตับ ระยะทุติยภูมิ (Secondary Liver Cancer)
- เกิดจากการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่น เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งปอด เป็นภาวะมะเร็งตับที่มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตสูง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเป็นมะเร็งตับ
1. การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) และไวรัสตับอักเสบซี (HCV) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้สามารถนำไปสู่การอักเสบเรื้อรังและภาวะตับแข็งได้
2. การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน
- การดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับแข็ง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับมากที่สุดอีกสาเหตุหนึ่ง
3. ไขมันพอกตับและโรคอ้วนนั่นเอง
- ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ เกิดจากโรคอ้วนหรือการทานอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดไขมันเป็นจำนวนมากก็มีโอกาสเป็นมะเร็งตับได้เช่นกัน
4. การได้รับสารพิษบางชนิด
- เช่น สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ที่พบในถั่วหรือธัญพืชที่เก็บไม่ถูกวิธี
5. โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- มีความสัมพันธ์กับเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของตับโดยตรง
อาการของมะเร็งตับแต่ละระยะที่ควรสังเกต
- อาการเบื้องต้น:
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เบื่ออาหาร เป็นเวลานาน
- ท้องอืดหรือรู้สึกแน่นบริเวณช่องท้องขวาบน
- อาการที่เด่นชัดในระยะหลัง:
- ปวดท้องด้านขวาบน
- ตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน)
- ท้องบวมจากการสะสมของน้ำในช่องท้อง (Ascites)
- คลำพบก้อนที่บริเวณตับ
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยด่วน อย่าชะล่าใจเด็ดขาด ถ้าไม่ได้เป็นอะไรก็ดีไป แต่ถ้าเป็นมะเร็งตับก็จะได้รีบรักษาทันท่วงที
การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับที่พบบ่อย
- การตรวจเลือด:
- ตรวจหาระดับสาร Alpha-Fetoprotein (AFP) ซึ่งมักพบสูงในผู้ป่วยมะเร็งตับ
- การอัลตราซาวนด์:
- เพื่อตรวจหาก้อนในตับ
- การตรวจภาพขั้นสูง:
- เช่น การทำ CT Scan หรือ MRI เพื่อดูรายละเอียดของตับ
- การตัดชิ้นเนื้อ:
- เพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัย
การรักษามะเร็งตับ
แนวทางการรักษามะเร็งตับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สภาพร่างกาย และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ผู้ป่วยแต่ละคนจึงอาจเป็นไปได้ว่าจะได้รับการรักษาคนละแบบกันแม้จะเป็นโรคเดียวกันก็ตาม
- การผ่าตัด:
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและไม่มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปส่วนอื่นๆ
- การปลูกถ่ายตับ:
- สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งร่วมด้วยและไม่สามารถผ่าตัดได้
- การทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะจุด:
- เช่น การใช้ความร้อน (Radiofrequency Ablation – RFA) หรือการฉีดยาเข้าเส้นเลือด (Transarterial Chemoembolization – TACE)
- การรักษาด้วยยา:
- เช่น ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) หรือยาภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy)
- การรักษาประคับประคอง:
- สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ดีขึ้น
การดูแลร่างกายและป้องกันมะเร็งตับ
1. ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- หลีกเลี่ยงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น
- ใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
2. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
- หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
3. ดูแลสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. ระวังสารพิษในอาหาร
- หลีกเลี่ยงการบริโภคถั่วหรือธัญพืชที่เก็บไว้นานจนขึ้นรา
5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
- โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
มะเร็งตับเป็นโรคที่อาจรุนแรงหากไม่ได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที การตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยง อาการ และแนวทางการป้องกัน จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ประสบความสำเร็จ สามารถตรวจสุขภาพตับกับทางเราได้ที่โรงพยาบาลซีเมด ลิฟวิ่ง แคร์ โดยโปรแกรมการตรวจของเราจะมีครอบคลุมการตรวจทุกอย่างเกี่ยวกับตับโดยเฉพาะ ซึ่งเรามีแล็ปเป็นของตัวเองและทุกท่านสามารถมั่นใจได้ว่า ผลที่ได้แม่นยำและถูกต้องอย่างแน่นอน เพราะพวกเราอยากให้คุณสุขภาพดีอยู่เสมอ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร.: 0-2199-2111 ต่อ 161 แผนกการตลาด
หรือ 081-358-6493 (คุณอ้น), 086-368-5317 (คุณไอซ์)
อีเมล: info@semed.co.th
LINE: @semed
Facebook: SEMed living care hospital